วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงงานแชมพูมะกรูด

เรื่อง    แชมพูมะกรูด 

จัดทำโดย 

1.นางสาววาสนา  สุพร           ปวช3/6   เลขที่ 12
2.นางสาวจันทร์จิรา  จิและ     ปวช.3/6   เลขที่17

 ครูที่ปรึกษาการจัดทำโครงงาน 
อาจารย์ จิตสถา  เตชะทวีกุล
วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร 


 กิตติกรรมประกาศ
 โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แชมพูมะกรูด
เพื่อศึกษาทดลอง โดยได้รับการสนับสนุนจาก  เพื่อนร่วมกลุ่มและคุณครู จิตสถา  เตชะทวีกุล ที่ได้ให้คำปรึกษาในการ     จัดทำโครงงานและได้รับความอนุเคราะหวิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ แนะนำเอกสารตำราต่างๆที่ศึกษาค้นคว้า
        คณะผู้จัดทำ ขอขอบพระคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวถึงมาข้างต้น และที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง

                                                                                                                                                       คณะผู้จัดทำ


 บทคัดย่อ
       โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แชมพูมะกรูด
จัดทำโดยใช้     1.  มะกรูด   ( ไม่จำกัดจำนวน แล้วแต่จะหาได้ )
                     2.  น้ำเปล่า   เกลือ
                     3.  กะละมัง  กระชอน หรือผ้าขาวบาง  เครื่องปั่นน้ำผลไม้   มีด                เขียง
                    4.ขวดแก้ว  หรือ ขวดพลาสติก  ตามแต่จะหาได้
                    5.N 70
        ผลที่ได้จากการจัดทำโครงงานนี้    ประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของผิวมะกรูดอยู่ที่ส่วนน้ำมันหอมระเหยซึ่งผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง
การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้ดีกว่าใบมะกรูด(เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่น้อยกว่าผิวมะกรูด) จุลินทรีย์ที่ถูกยับยั้งได้ง่ายคือราดังนั้นจึงมีการนำน้ำมันหอมระเหยไปเป็นส่วนผสมในแชมพูสระผมเพื่อกำจัดรังแคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา




  บทที่1
บทนำ
 ที่มาและความสำคัญ
           มะกรูด เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะมาแต่โบราณ น้ำมะกรูดมีความ เป็นกรด คือมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 2 – 2.5 ส่วนผิวมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยที่ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้ลดการเกิดรังแค ช่วยบำรุงรากผม ลด อาการผมร่วง และทำให้ผมดำ เงางาม หลังจากสระผมด้วยแชมพู
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาจัดทำแชมพูมะกรูด
- ศึกษาเพื่อทราบค่า ph ของแชมพูมะกรูดควรมีค่า ph เท่าไร
- ศึกษาเพื่อทราบประสิทธิภาพการกำจัดคราบไขมันและรังแคบนหนังศีรษะของแชมพูมะกรูด



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     การใช้สมุนไพรบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ อาจใช้ผสมกันหลายชนิดก็ได้ เช่น มะกรูด ผสมกับอัญชัน ว่านหางจระเข้ผสมกับอัญชัน กล้วยหอมผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำผึ้ง โยเกิร์ต เพื่อเพิ่มการบำรุงเส้นผมและให้เหมาะกับปัญหาของเส้นผม จะเห็นว่าเป็นวิธีง่ายๆและไม่ยุ่งยาก ในการบำรุงรักษาเส้นผมที่มีปัญหา ให้กลับคืนมาเป็นเส้นผมที่มีสุขภาพดีโดยเร็ว ด้วยการใช้ สมุนไพรที่หาง่าย ราคาไม่แพง ทำเองที่บ้านก็ได้ เป็นการประหยัดเงินและเวลา นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยอื่นๆที่ช่วยส่งเสริมให้เส้นผมและหนังศีรษะมีสุขภาพที่ดี คือ การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ให้สะอาดเสมอ ในระหว่างสระผมและบำรุงผมด้วยสมุนไพรหรือครีมนวดผมต้องนวดศีรษะด้วย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงรากผมได้ทั่วถึง การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แต่งผมที่มี คุณภาพและให้เหมาะกับสภาพของเส้นผมและหนังศีรษะ ลดการทำร้ายเส้นผม เช่น การดัด การ ย้อมสีผม การไดร์ผมบ่อยๆ และที่สำคัญคือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม


บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

              มะกรูด มะกรูดมีการใช้ประโยชน์อย่างมาก เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและยาสมุนไพร สามารถนำไปประกอบอาหารดับกลิ่นคาวและเป็นยารักษาโรค เช่น ช่วยแก้อาการท้องอืด แก้ปวดท้อง บำรุงโลหิตสตรี ขับเสมหะ ฯลฯ นอกจากการบริโภคเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางประเภทต่าง ๆได้อีกด้วย เช่น แชมพู ครีมนวด ครีมหมักผมเป็นต้น ส่วนต่าง ๆของมะกรูด สามารถเก็บรักษาไว้ในรูปของแห้ง คือ ใบมะกรูดแห้ง และผิวมะกรูดแห้ง หรือน้ำมันหอมระเหยสารสกัดวิธีต่างๆปัจจุบันความต้องการมะกรูดของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องด้วยสรรพคุณของมะกรูดที่มีความหลากหลาย แต่เกษตรกรมักจะปลูกมะกรูดกันในลักษณะเป็นพืชผักสวนครัว หรือพืชรองเท่านั้น
ชื่อภาษาไทย มะกรูด
ชื่อสามัญ Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime, Mauritius papeda
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. มะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูง 2 – 12 เมตร ลำต้นและกิ่ง มีหนามแหลม
2. ใบมะกรูด มีลักษณะเป็นรูปไข่กว้างถึงไข่แกมรี หรือขอบขนาน ขนาดของใบกว้าง 2-6 เซนติเมตรยาว3–15เซนติเมตรปลายใบมน โคนใบสอบหรือมน ขอบใบ จักมน ก้านใบมีปีกเป็นแผ่นคล้ายใบคล้ายรูปลิ่มหรือไข่หัวกลับ ใบเป็น2ตอน ใบค่อนข้างหนามีสีเขียวแก่แผ่นใบมีต่อมน้ำมันใส มีกลิ่นหอม
3. ดอกมีสีขาว อยู่บริเวณตรงซอกใบ มีกลิ่นหอม มีลักษณะเป็นทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ มี 2 -12ดอก
- กลีบเลี้ยง มี 4-5 กลีบ เป็นรูปไข่กว้าง ปลายแหลม
- กลีบดอก มี 4-5 กลีบ กลีบหนา รูปไข่แกมรี ปลายมนแหลม ด้านนอกมีต่อมน้ำมันกลีบร่วงง่าย
- เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ก้านเกสรสีขาว อับเรณูสีเหลืองอ่อน
- เกสรเพศเมีย คล้ายรูปกระบอง สีเหลืองแกมเขียว ยอดเกสรกลม สีเหลืองแกมเขียว
- รังไข่ ค่อนข้างกลม ส่วนบนกว้าง มีหลายช่อง


4. ผล เป็นผลเดี่ยวค่อนข้างกลม บางพันธุ์มีผิวขรุขระ มีจุกที่หัวผล เปลือกหนา สีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลืองมีเมล็ดหลายเมล็ด โครงสร้างด้านในคล้ายพืชตระกูลส้ม ขนาดของผลประมาณ 3 – 7 เซนติเมตร
แหล่งที่พบ
ไม่ทราบแหล่งกำเนิด แต่พบมากตามธรรมชาติในมาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา พม่า และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การใช้ประโยชน์จากมะกรูด
1. ใช้ส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ1. 1 ใบมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว
1.2. ผลลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
1.3 ผิวลูกมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอมร้อน ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
1.4 น้ำในลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว แก้ไอเสมหะ ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
1.5 ราก มีรสจืดเย็น แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน
แก้ เสมหะ
2. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ
3. กรดซิตริกที่อยู่ในมะกรูด ช่วยขจัดคราบสบู่ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีเรียบง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4. ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ

บทที่ 3
วิธีดำเนินการโครงงาน

อุปกรณ์
    1.  มะกรูด   ( ไม่จำกัดจำนวน แล้วแต่จะหาได้ )
    2.  น้ำเปล่า  เกลือ
    3.  กะละมัง  กระชอน หรือผ้าขาวบาง  เครื่องปั่นน้ำผลไม้   มีด  เขียง
   4.ขวดแก้ว  หรือ ขวดพลาสติก  ตามแต่จะหาได้
   5.N 70
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
   1.หั้นมะกรูดแล้วนำมาต้มด้วยน้ำเดือด
   2.นำมะกรูดที่ต้มมาปั้นให้ระเอียด  
   3.นำมะกรูดที่ปั่นมาเทลงในผ้าขาวบางเพื่อกรองเอาน้ำมะกรูดและเนื้อมะกรูด
   4.ใส่ N 70 1 กิโลกรัมลงไปกวนให้เข้ากัน
   5.ใส่เกลือลงไปแล้วกวนให้เข้ากัน
   6.ใส่น้ำมะกรูดที่คั้นแล้วลงไป
   7.กวนไปทางเดียวกันจนเกิดฟอง
   8.เมื่อเย็นแล้วบรรจุลงในขวดที่เตรียมไว้
 


 บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการจัดทำโครงงาน


การทดลอง
แชมพูมะกรูด
ค่า ph ที่ได้ต้องไม่เกิน
5.5
การกำจัดคราบ
    กรดซิตริกที่อยู่ในมะกรูด ช่วยขจัดคราบสบู่ที่หลงเหลืออยู่ทำให้ผมหวีเรียบง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม   
การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
เนื่องจากมีสารพวกเจอรา,นิออล,นิโรลิออลไอโซพูลีกอล ลินาลูล และเทอร์ไปนีนออล อยู่ด้วย ซึ่งมีรายงานว่าสารเหล่านี้มีปริสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้
การกำจัดรังแค
ผิวมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยไปเป็นส่วนผสมในแชมพูสระผมเพื่อกำจัดรังแคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา
 



บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินการจัดทำโครงงาน
       สมุนไพรนั้น นอกจากจะไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเป็นพิษ ยังอ่อนโยนต่อเส้นผมอีกด้วย ผู้ใช้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีแรงๆ และปัญหาผมร่วง ยิ่งไปกว่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสังเคราะห์ส่วนใหญ่จะผสมขี้ผึ้ง สารขจัดคราบและซิลิโคนเข้าไปมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถล้างออกหมด ส่วนสารที่สกัดจากดอกไม้และพืช เช่น มะกรูด   สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้ลดการเกิดรังแค ช่วยบำรุงรากผม ลด อาการผมร่วง และทำให้ผมดำ เงางาม
        

 บรรณานุกรม
และสืบค้นจาก    http://www.google.co.th/


3 ความคิดเห็น: